วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประเพณีของอำเภอเชียงแสน

งานประเพณีสงกรานต์และแข่งเรือเมืองเชียงแสน


วันที่จัดงาน: 13 – 18 เมษายน ของทุกปี
สถานที่จัดงาน: อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
             วันปีใหม่ไทยเป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบเนื่องกันมาอย่ายาวนาน อำเภอเชียงแสนมีการจัดกิจกรรมปีใหม่ 4 ชาติ (ไทย ลาว จีน และพม่า)ภายในงานมีการแข่งเรือ 3 ชาติ (ไทย ลาว-พม่า) ชมการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพมากมาย รวมถึงการประกวดธิดาสามเหลี่ยมทองคำ ขวบพาเหรดได้ถูกจัดอย่างสวยงามพร้อมกับที่ประชาชนได้สรงน้ำพระพุทธรูปพระเจ้าลานทอง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแข่งเรือและการแสดงพื้นบ้าน เมืองเชียงแสนถือเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศารสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอณาล้านนาจักรโบราณ ประเพณีสงกรานต์ได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ในทุกวันที่ 13-18 เมษายนของทุกปี ซึ่งถือเป็นการสืบสานประเภทเพณีอันดีงามของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาวและจีนไว้อย่างเป็นเอกลักษณ์
           เชียงแสนเป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายไปทางตอนใต้ระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร มีโรงแรมและรีสอร์ทตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโขงและเมืองโบราณมีทิวทัศน์ที่สวยงามโดยเฉพาะยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอก ปัจจุบันพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาและมีชื่อเสียงคือ สามเหลี่ยมทองคำ เป็นพรมแดนรอยระหว่างสามประเทศได้แก่ อำเภอเชียงแสน ประเทศไทย, แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาวและทาขี้เหล็ก ประเทศพม่า เป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญเนื่องจากเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีนและลาว วัดศูนย์กลางของเมืองเชียงแสน เป็นศาสนสถานที่สำคัญสำหรับชาวพุทธเพื่อนมัสการพระพุทธรูปศักสิทธ์เป็นที่เคารพชองชุมชน ในวันปีใหม่ของทุกปี ชาวบ้านจะนำพระพุทธรูปออกจากบ้านมาเพื่อสรงน้ำพระในวัด ในตอนเย็น มีการปิดถนนสายหลักของเมืองเพื่อทำการตั้งร้านค้าขายจำนวนมากให้ผู้คนและนักท่องเที่ยวสามารถเดินชม เลือกของสวยงาม สองข้างทางเต็มไปด้วยสินค้าที่วางขายเช่น ของพื้นเมือง งานหัตถกรรมและเทศการอาหาร ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเพลิดเพลินกับอาหารมื้อค้ำในแบบล้านนานที่เรียกกันว่าขันโตกและชมความบันเทิงพื้นบ้าน การละเล่นต่างๆมากมาย

งานแข่งขันโปโลช้าง



วันที่จัดงาน: เดือนมีนาคม
สถานที่จัดงาน: อนันตรารีสอร์ท บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
            การแข่งขันอันโด่งดังดังกล่าวนี้ได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในหกงานสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ในปฏิทินท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี การแข่งขันครั้งนี้เดิมทีได้รับการจัด ณ เมืองหัวหินมาอย่างต่อเนื่อง 6 ปีก่อนที่จะย้ายมายังดินแดนที่อยู่อาศัยที่แท้จริงของช้างทางภาคเหนือในปี 2549 การแข่งขันโปโลบนหลังช้างครั้งแรกนั้นเริ่มต้นปี พ.ศ. 2544 ซึ่งมีจุดประสงค์ในการจัดเป็นกิจกรรม เพื่อการกุศลที่สามารถนำเงินเข้าสมทบ ให้แก่สถาบัคชบาลแห่งชาติในจังหวัดลำปางและดูแลช้างไทยเป็นอย่างดี
การจัดงาน ณ ดินแดนแคว้นเหนือของไทยนั้น จะช่วยทำให้แน่ใจได้ว่านานาชาติจะสามารถหันมาสนใจในภูมิภาคนี้ ซึ่งมีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์และหาที่เปรียบไม่ได้แห่งนี้ โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งมีทัศนียภาพของขุนเขาและแม่น้ำที่เชื่อมแผ่นดินสามประเทศคือ ไทย พม่าและลาวเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว อนันตรารีสอร์ท ณ ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำให้ความสำคัญเรื่องการดำรงไว้ซึ่งธรรมชาติ และการอนุรักษ์ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนผ่านทางแคมป์ช้าง ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาเพื่อดูแลช้างที่น่าสงสาร ซึ่งแขกทุกท่านที่เข้ามาพัก ณ รีสอร์ทหรูแห่งนี้จะสามารถเข้าถึงประสบการณ์อันวิเศษสุดนี้ได้ จอห์น โรเบิร์ต นักอนุรักษ์ชื่อดังมีตำแหน่งอย่างเป็นทางการคือผู้จัดการแคมป์ช้างของรีสอร์ท นอกจากจะดูช้างทุกเชือกในรีสอร์ทแล้วนั้น เขายังทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันคชบาลแห่งชาติ จังหวัดลำปางในการร่วมอนุรักษ์ช้างทางภาคเหนือของไทยอีกด้วย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะสนับสนุนกิจกรรมอันสร้างสรรค์นี้ และแน่นอนว่าผู้สนใจร่วมชมการแข่งขัน สามารถเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

งานประเพณีปอยส่างลอง


วันที่จัดงาน: ช่วงระหว่าง เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม 
           เทศกาลงานประเพณีปอยส่างลอง (งานบวชลูกแก้ว) งานบุญสำคัญของพี่น้องชาวไต (ไทใหญ่) ที่หลายจังหวัดทางภาคเหนือของไทย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ได้มีการจัดเป็นประจำทุกปี ซึ่งปีนี้ มีกำหนดจัดงานนี้ขึ้นหลายแห่ง "ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ และหากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ และได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม

งานปอยหลวง



วันที่จัดงาน: ช่วงระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคมของทุกปี
          ประเพณีงานปอยหลวงเป็นงานทำบุญเพื่อเฉลิมฉลองศาสนสมบัติต่าง ๆ เพื่อให้เกิดอานุสงส์แก่ตนและครอบครัว ถือว่าได้บุญกุศลแรงมาก นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องแสดงถึงความสามัคคีกลมเกลียวของคณะสงฆ์และชาวบ้านด้วยเพราะเป็นงานใหญ่ การทำบุญปอยหลวงที่นิยมทำกันคือทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วก็ได้ สิ่งสำคัญที่ได้จากการทำบุญงานปอยหลวงอีกอย่างหนึ่งก็คือ การแสดงความชื่นชมยินดีร่วมกันเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่คนในท้องถิ่นโดยการจัดมหรสพสมโภช เพราะหนึ่งปีถึงจะได้มีโอกาสได้เฉลิมฉลองถาวรวัตถุต่างๆ ได้ หรือบางแห่งอาจใช้เวลาหลายปีเพราะสิ่งปลูกสร้างบางอย่าง ใช้เวลาสร้างนานมาก สิ้นเปลืองเงินทองมหาศาล จะต้องรอให้สร้างเสร็จและมีเงินจึงจะจัดงานเฉลิมฉลองเป็นงานปอยหลวงขึ้นมาได้


แหล่งที่มา http://www.sawadee.co.th/chiangrai/festival.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น