วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติอำเภอเชียงแสน

ประวัติอำเภอเชียงแสน




          ในปี พ.ศ. 2413 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (พระเจ้านครเชียงใหม่) ได้ทรงส่งใบบอกข้อราชการไปยังกรุงเทพมหานครว่า มีชาวพม่า ไทลื้อ และไทเขิน จากเมืองเชียงตุงประมาณ 300 ครอบครัวได้อพยพลงมาอยู่เมืองเชียงแสนและตั้งตนเป็นอิสระไม่ยอมอยู่ใต้การปกครองของสยามและล้านนา จึงแต่งคนไปว่ากล่าวให้ถอยออกจากเมือง ถ้าอยากจะอยู่ ให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเมืองเชียงรายและนครเชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้ผล ไม่มีใครยอมออกไป
      ในปี พ.ศ. 2417 พระเจ้านครเชียงใหม่จึงทรงเกณฑ์กำลัง 4,500 คน จากเมืองต่าง ๆ ยกทัพจากนครเชียงใหม่มาเมืองเชียงรายและ เมืองเชียงแสน ไล่ชนเหล่านั้นออกจากเมืองเชียงแสน จึงทำให้เชียงแสนกลายเป็นเมืองร้าง จนถึงปีพ.ศ. 2423 ได้ทรงให้เจ้าอินต๊ะ พระโอรสในพระเจ้าลำพูนไชย เป็นพระยาเดชดำรง เจ้าเมืองเชียงแสนองค์แรก และให้พระเจ้าผู้ครองนครลำพูนทรงเกณฑ์ราษฎรจากหลาย ๆ เมืองประมาณ 1,500 ครอบครัว ขึ้นมาตั้งรกราก "ปักซั้งตั้งถิ่น" อยู่ที่เมืองเชียงแสนจวบจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 ทางราชการได้ย้ายศูนย์การปกครองเมืองไปอยู่ที่ตำบลกาสา เรียกชื่อว่า อำเภอเชียงแสนส่วนบริเวณเมืองเชียงแสนเดิมถูกยุบลงเป็น กิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง ขึ้นกับอำเภอเชียงแสน และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กิ่งอำเภอเชียงแสนในปี พ.ศ. 2482  จนกระทั่งได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอเชียงแสน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา

เกี่ยวกับอำเภอเชียงแสน





           อำเภอเชียงแสน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีซากโบราณสถานของเมืองเชียงแสนเก่าอยู่ในบริเวณตัวอำเภอ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวและท่าเรือขนส่งสินค้าที่สำคัญในภาคเหนือ นอกจากนี้เชียงแสนมีพื้นที่ซึ่งเรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ ในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย อันเป็นบริเวณที่บรรจบกันของชายแดนสามประเทศ คือ ไทย ลาว และพม่า



ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเชียงแสนตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
·         ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่สาย รัฐฉา (ประเทศพม่า) และแขวงบ่อแก้ว (ประเทศลาว)
·         ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงบ่อแก้ว (ประเทศลาว) และอำเภอเชียงของ
·         ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเชียงของ อำเภอดอยหลวง และอำเภอแม่จัน
·         ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแม่จันและอำเภอแม่สาย


คำขวัญอำเภอ     ถิ่นอมตะ พระเชียงแสน แดนสามเหลี่ยม เยี่ยมน้ำโขง จรรโลงศิลปะ

พื้นที่     554.0 ตร.กม.

ประชากร           50,344 คน (พ.ศ. 2557)

ความหนาแน่น   90.87 คน/ตร.กม.

ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเชียงแสนประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
·         เทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเวียง
·         เทศบาลตำบลเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน)
·         เทศบาลตำบลโยนก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโยนกทั้งตำบล
·         เทศบาลตำบลบ้านแซว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแซวทั้งตำบล
·         เทศบาลตำบลแม่เงิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เงินทั้งตำบล
·         องค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าสักทั้งตำบล
·         องค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีดอนมูลทั้งตำบล

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

1.อาชีพหลัก ได้แก่   การเกษตรกรรม  เช่น  ทำนา  ทำสวนผัก  ไร่ข้าวโพด  ไร่ยาสูบ  
2.อาชีพเสริม ได้แก่ ทำสวนผลไม้ รับจ้างนอกฤดูกาล ค้าขายชายแดน 
3.จำนวนธนาคาร  มี 5 แห่ง ได้แก่
     -ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)                           โทร.0-5365-0696
     -ธนาคารไทยพาณิชย์  จำกัด (มหาชน)                 โทร. 0-5377-7041-3
     -ธนาคารออมสิน                  โทร. 0-5365-0812
     -ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร    โทร. 0-5377-7100
     -ธนาคารกสิกรไทย สาขาเชียงแสน


ด้านสังคม

1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่
     -รร.ราชประชานุเคราะห์ 15 เทศบาล 053-777105
     -รร.เชียงแสนวิทยาคม เทศบาล 053-777104
     -รร.บ้านแซววิทยาคม            053-182423,f 053-182413 

2.มหาวิทยาลัย ได้แก่
     -มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย วิทยาเขตเชียงแสน  โทร. 0-5377-7104

แหล่งที่มา http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=137&pv=12



วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประเพณีของอำเภอเชียงแสน

งานประเพณีสงกรานต์และแข่งเรือเมืองเชียงแสน


วันที่จัดงาน: 13 – 18 เมษายน ของทุกปี
สถานที่จัดงาน: อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
             วันปีใหม่ไทยเป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบเนื่องกันมาอย่ายาวนาน อำเภอเชียงแสนมีการจัดกิจกรรมปีใหม่ 4 ชาติ (ไทย ลาว จีน และพม่า)ภายในงานมีการแข่งเรือ 3 ชาติ (ไทย ลาว-พม่า) ชมการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพมากมาย รวมถึงการประกวดธิดาสามเหลี่ยมทองคำ ขวบพาเหรดได้ถูกจัดอย่างสวยงามพร้อมกับที่ประชาชนได้สรงน้ำพระพุทธรูปพระเจ้าลานทอง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแข่งเรือและการแสดงพื้นบ้าน เมืองเชียงแสนถือเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศารสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอณาล้านนาจักรโบราณ ประเพณีสงกรานต์ได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ในทุกวันที่ 13-18 เมษายนของทุกปี ซึ่งถือเป็นการสืบสานประเภทเพณีอันดีงามของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาวและจีนไว้อย่างเป็นเอกลักษณ์
           เชียงแสนเป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายไปทางตอนใต้ระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร มีโรงแรมและรีสอร์ทตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโขงและเมืองโบราณมีทิวทัศน์ที่สวยงามโดยเฉพาะยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอก ปัจจุบันพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาและมีชื่อเสียงคือ สามเหลี่ยมทองคำ เป็นพรมแดนรอยระหว่างสามประเทศได้แก่ อำเภอเชียงแสน ประเทศไทย, แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาวและทาขี้เหล็ก ประเทศพม่า เป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญเนื่องจากเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีนและลาว วัดศูนย์กลางของเมืองเชียงแสน เป็นศาสนสถานที่สำคัญสำหรับชาวพุทธเพื่อนมัสการพระพุทธรูปศักสิทธ์เป็นที่เคารพชองชุมชน ในวันปีใหม่ของทุกปี ชาวบ้านจะนำพระพุทธรูปออกจากบ้านมาเพื่อสรงน้ำพระในวัด ในตอนเย็น มีการปิดถนนสายหลักของเมืองเพื่อทำการตั้งร้านค้าขายจำนวนมากให้ผู้คนและนักท่องเที่ยวสามารถเดินชม เลือกของสวยงาม สองข้างทางเต็มไปด้วยสินค้าที่วางขายเช่น ของพื้นเมือง งานหัตถกรรมและเทศการอาหาร ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเพลิดเพลินกับอาหารมื้อค้ำในแบบล้านนานที่เรียกกันว่าขันโตกและชมความบันเทิงพื้นบ้าน การละเล่นต่างๆมากมาย

งานแข่งขันโปโลช้าง



วันที่จัดงาน: เดือนมีนาคม
สถานที่จัดงาน: อนันตรารีสอร์ท บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
            การแข่งขันอันโด่งดังดังกล่าวนี้ได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในหกงานสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ในปฏิทินท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี การแข่งขันครั้งนี้เดิมทีได้รับการจัด ณ เมืองหัวหินมาอย่างต่อเนื่อง 6 ปีก่อนที่จะย้ายมายังดินแดนที่อยู่อาศัยที่แท้จริงของช้างทางภาคเหนือในปี 2549 การแข่งขันโปโลบนหลังช้างครั้งแรกนั้นเริ่มต้นปี พ.ศ. 2544 ซึ่งมีจุดประสงค์ในการจัดเป็นกิจกรรม เพื่อการกุศลที่สามารถนำเงินเข้าสมทบ ให้แก่สถาบัคชบาลแห่งชาติในจังหวัดลำปางและดูแลช้างไทยเป็นอย่างดี
การจัดงาน ณ ดินแดนแคว้นเหนือของไทยนั้น จะช่วยทำให้แน่ใจได้ว่านานาชาติจะสามารถหันมาสนใจในภูมิภาคนี้ ซึ่งมีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์และหาที่เปรียบไม่ได้แห่งนี้ โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งมีทัศนียภาพของขุนเขาและแม่น้ำที่เชื่อมแผ่นดินสามประเทศคือ ไทย พม่าและลาวเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว อนันตรารีสอร์ท ณ ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำให้ความสำคัญเรื่องการดำรงไว้ซึ่งธรรมชาติ และการอนุรักษ์ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนผ่านทางแคมป์ช้าง ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาเพื่อดูแลช้างที่น่าสงสาร ซึ่งแขกทุกท่านที่เข้ามาพัก ณ รีสอร์ทหรูแห่งนี้จะสามารถเข้าถึงประสบการณ์อันวิเศษสุดนี้ได้ จอห์น โรเบิร์ต นักอนุรักษ์ชื่อดังมีตำแหน่งอย่างเป็นทางการคือผู้จัดการแคมป์ช้างของรีสอร์ท นอกจากจะดูช้างทุกเชือกในรีสอร์ทแล้วนั้น เขายังทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันคชบาลแห่งชาติ จังหวัดลำปางในการร่วมอนุรักษ์ช้างทางภาคเหนือของไทยอีกด้วย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะสนับสนุนกิจกรรมอันสร้างสรรค์นี้ และแน่นอนว่าผู้สนใจร่วมชมการแข่งขัน สามารถเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

งานประเพณีปอยส่างลอง


วันที่จัดงาน: ช่วงระหว่าง เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม 
           เทศกาลงานประเพณีปอยส่างลอง (งานบวชลูกแก้ว) งานบุญสำคัญของพี่น้องชาวไต (ไทใหญ่) ที่หลายจังหวัดทางภาคเหนือของไทย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ได้มีการจัดเป็นประจำทุกปี ซึ่งปีนี้ มีกำหนดจัดงานนี้ขึ้นหลายแห่ง "ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ และหากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ และได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม

งานปอยหลวง



วันที่จัดงาน: ช่วงระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคมของทุกปี
          ประเพณีงานปอยหลวงเป็นงานทำบุญเพื่อเฉลิมฉลองศาสนสมบัติต่าง ๆ เพื่อให้เกิดอานุสงส์แก่ตนและครอบครัว ถือว่าได้บุญกุศลแรงมาก นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องแสดงถึงความสามัคคีกลมเกลียวของคณะสงฆ์และชาวบ้านด้วยเพราะเป็นงานใหญ่ การทำบุญปอยหลวงที่นิยมทำกันคือทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วก็ได้ สิ่งสำคัญที่ได้จากการทำบุญงานปอยหลวงอีกอย่างหนึ่งก็คือ การแสดงความชื่นชมยินดีร่วมกันเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่คนในท้องถิ่นโดยการจัดมหรสพสมโภช เพราะหนึ่งปีถึงจะได้มีโอกาสได้เฉลิมฉลองถาวรวัตถุต่างๆ ได้ หรือบางแห่งอาจใช้เวลาหลายปีเพราะสิ่งปลูกสร้างบางอย่าง ใช้เวลาสร้างนานมาก สิ้นเปลืองเงินทองมหาศาล จะต้องรอให้สร้างเสร็จและมีเงินจึงจะจัดงานเฉลิมฉลองเป็นงานปอยหลวงขึ้นมาได้


แหล่งที่มา http://www.sawadee.co.th/chiangrai/festival.html

สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเชียงแสน

น้ำตกบ้านไร่







           ตั้งอยู่บ้านไร่ หมู่ที่ 9 ต.บ้านแซว ห่างจากที่ว่าการ อ.เชียงแสนไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 15 กม.เศษ โดยเส้นทางรพช. สายบ้านเวียง-เชียงของ (สายเดียวกันกับไปพระธาตุผาเงา) เป็นน้ำตกธรรมชาติตกจากดอยผาแตก บริเวณน้ำตกเป็นป่าร่มรื่น


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน





           ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่ได้จากบริเวณเชียงแสนและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ลวดลายปูนปั้นฝีมือล้านนา พระพุทธรูปและศิลาจารึกจากเชียงแสนและจากพะเยา พร้อมทั้งให้ข้อมูลทางด้านวิชาการเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีการตั้งถิ่นฐานของชุมชน และประวัติการสร้างเมืองเชียงแสน นอกจากนี้ยังมีการจัด แสดงศิลปะพื้นบ้านของ ชาวไทยใหญ่ ไทยลื้อ และชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ เครื่องเขิน เครื่องดนตรี เครื่องประดับ อุปกรณ์การสูบฝิ่น เป็นต้น เปิดทำการตั้งแต่เวลา ๙.๐๐- ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

วัดป่าสัก




          อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนประมาณ ๑ กม. ในเขต ต.เวียง พระเจ้าแสนภูทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. 1838 และให้ปลูกต้นสักล้อมกำแพง 300 ต้น วัดนี้จึงได้ชื่อว่า "วัดป่าสัก" ภายในวัดมี โบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงมณฑปยอดระฆัง ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นอันวิจิตร มีฐานกว้าง 8 ม. สูง 12.5 ม. เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกระดูกตาตุ่มข้างขวาจากเมืองปาฏลีบุตร

วัดพระธาตุจอมกิตติ




              อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนประมาณ ๑ กม. ในเขต ต.เวียง พระเจ้าแสนภูทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. 1838 และให้ปลูกต้นสักล้อมกำแพง 300 ต้น วัดนี้จึงได้ชื่อว่า "วัดป่าสัก" ภายในวัดมี โบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงมณฑปยอดระฆัง ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นอันวิจิตร มีฐานกว้าง 8 ม. สูง 12.5 ม. เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกระดูกตาตุ่มข้างขวาจากเมืองปาฏลีบุตร

สบรวก(สามเหลี่ยมทองคำ)






           (ดินแดนแห่งสามเหลี่ยมทองคำ) ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนไปตามถนนเลียบแม่น้ำโขงระยะทาง ๙ กม. ซึ่งเป็นบริเวณที่แผ่นดินของ ๓ ประเทศได้มาพบกัน คือ ไทย พม่า ลาว โดยมีแม่น้ำรวกกั้นอาณาเขตระหว่างไทยและพม่า และแม่น้ำโขงกั้นอาณาเขตระหว่างไทยและลาว ครั้งหนึ่งที่นี่เคยเป็นไร่ฝิ่นที่ใหญ่โตมาก แต่ปัจจุบันไม่มีไร่ฝิ่นอีกแล้ว เหลือคงแต่ทิวทัศน์ที่เงียบสงบของลำน้ำและเขตแดนของ 3 ประเทศเท่านั้น   ที่นี่ยังมีบริการเรือให้เช่าเพื่อเดินทางไปชมทิวทัศน์บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ใช้เวลา 20 นาที และยังสามารถเช่าเรือจากสบรวกไปยังเชียงแสนและเชียงของได้ ใช้เวลาประมาณ 40 นาทีและ 1 ชม.ครึ่งตามลำดับ
แหล่งที่มา http://place.thai-tour.com/chiangrai/chiangsaen